วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

seE *saw



  • See . Saw Series เป็นอีกสุดยอดผลงานหนึ่งของ L Filipe dos Santos
     นับว่าทำออกมาได้ดีเยี่ยมเช่นเคย ติดตามผลงานของศิลปินคนได้ที่นี่นะครับ 
    http://www.behance.net/corcoise

เทคนิคการถ่ายภาพ



- ถ่ายมุมสูง/มุมต่ำ หรือมุมประหลาดๆ
.. มันมักจะออกมาดีนะ เพราะมันดูไม่เหมือนปกติน่ะ

มุมสูง - ถ่ายจากหอที่รร. ชั้น 5 มองลงมาเห็นว่าสวยดีเลยถ่ายไว้เล่นๆ
             

มุมเงย .... เล็งดีๆ เน้อ อย่าเผลอไปสอดใต้กระโปรงใครล่ะ
       

แนวนอน - ตั้งกล้องกะพื้น (ตอนถ่ายแอยคิดว่า ถ้ารถไฟมา จะทำไงเนี่ย?)
           


         - เอาของกองๆ กันให้เต็มเฟรมแล้วถ่าย  
             ปกปิดความอ่อนด้อยของตัวเองได้ดี

           ตัวอย่าง

          เมื่อนานมาแล้ว คุ้ยเจอแต่รูปที่ปรับสีแล้ว
       

         อันนี้เนียนเข้าพวก (คงไม่ต้องบอกเนอะว่าถ่ายที่ไหน 55)

         


- เล่นกะ symetry
อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับว่า จะหาโลเกชันดีๆ ได้รึปล่าวเน้อ
ถ้าหาไม่ได้ ก็ลองถ่ายแนวยาว ตามระเบียงดู

ตัวอย่าง
                        
(รูปนี้เอียงไปหน่อย ไม่มีขาตั้งกล้อง แต่ขี้เกียจคุ้ยหาละ แหะๆ)


ที่ที่ถ่ายยังไงก็ดูดี

- ท้องฟ้า!! หามุมถ่ายดีๆ จะฟ้าโล่งๆ มีเมฆบัง หรือองค์ประกอบอื่นๆ ก็โอเค

ตัวอย่าง

          
             อันนี้ถ่ายฝ่าต้นไม้ (ระยอง)

- ทะเล~~~ จัดคอมโพสดีๆ ยังไงก็สวย

          
ระยองเช่นเคย~



ข้างบนเป็นการจัดคอมโพสรูป ทำได้ง่ายๆ
เหมาะะคนถ่ายรูปไม่เก่งแต่อยากถ่ายรูปอาร์ตๆ กะเค้ามั่ง

ถ้าเอาแบบยากขึ้นมานิดก็เช่น

- โฟกัสเฉพาะจุด


แอบโกงได้โดยการปรับเบลอทีหลัง XD
แต่เราว่ายังไงมันก็สวยสู้ไม่ได้เง้อ


- เล่นกะแสง

ตัวอย่าง

( ความจริงคือมันแสงไม่พอ =3=)


โฟกัสแสงไปจุดๆ นึง
จุดนั้นมันจะเด่นขึ้นมา



etc.

ถ่ายแสงไฟตอนมืดๆ

(ตึกเรียนตอนม.ปลายเราเอง หุหุ ใครรู้มั่งว่าโรงเรียนอะไร ?)

ถ่ายซูม / macro




ตย.ไม่ค่อยสวยเง้อ ขี้เกียจอัพรูปใหม่
ถ้าดึงจากมัลตี้มาจะติดลายน้ำน่ะ

ถ่ายของที่ไม่น่าถ่าย =w=


เช่น ซ่งติงชาวบ้าน 55555+



........... ที่บอกมานี่ก็แค่เป็นแนวทางนะคะ..........
อย่าเชื่อถือให้มาก เพราะเราเองก็ไม่ได้เก่งอะไีร
เราว่าถ่ายรูปที่อยากถ่ายแหละ ออกมาไงก็ดูดี
ไม่ต้องคิดมาก ถ่ายชิลๆ ถ่ายไปเรื่อยๆ


เช่นรูปนี้  ... เดินผ่านร้านเค้า ก็ถ่าย


(ตลาดหัวหิน ตอนกลางคืน)

ถ้ากำหนดกรอบให้มันมากๆ
ภาพมันอาจจะออกมาสวยก็จริง แต่เราว่ามันไม่มีชีวิตน่ะ

เราว่ารูปที่สวยที่สุดคือรูปที่ถ่ายด้วยใจ > <
ไม่รู้สินะ .... แต่เราว่ารูปถ่ายมันสื่อถึงความรู้สึกได้จริงๆ

แหล่งข้อมูล: http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1212169

John Malloy (Artist/Illustrator)


                                                                     Illustrated Drawings
About the Artist                                        


John Malloy
Born in rural northern Pennsylvania to a cemetery caretaker and a coal-miner’s daughter, John Malloy began drawing at very young age. He later earned a background in old master’s style painting and has since been self-taught in fine art, illustration, comics, and design.

His illustrations have been featured in a variety of publications, including The Big Book of Contemporary Illustration and the ‘Illusive 3′ Book of Contemporary Illustration.

In sequential art [comix] he has designed and illustrated musician-interviews for the award-winning Lemon Magazine, and is presently at work on a semi-autobiographical graphic novel titled, “Queasy”, which appears in Image Comics’ PopGun Anthology #4.

He currently lives with Amy, his heroine, and Lucita, his steed [a chihuahua].

He is available for freelance and commission.

พ่นกันสดๆ หน้า Central World


โก๋เอ็ม บุสด้าเบสและเพื่อนไปพ่น Graffiti ที่หน้า CentralWorld ในงาน "NBA 3-ON-3 THAILAND 2011"

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Light Graffiti : มาพ่นสีด้วย 'แสง' กันเถอะ!

 ฤ


ทุกคนรู้ดีว่ากราฟิตี้ คืองานศิลปะที่มีวิธีการเล่าเรื่อง สื่อสารด้วยการพ่นสี 
แน่นอนที่สุด อุปกรณ์ที่เป็นพระเอกของมันก็คือ ‘สีพ่น’ 
แต่ใครจะรู้ว่างานกราฟิตี้นั้น อุปกรณ์ในการพ่น สามารถใช้ได้มากกว่าแค่สี 
เรากำลังจะบอกคุณว่า ‘แสง’ ก็สามารถใช้เป็นเป็นตัวพ่นได้ 
ถ้าไม่เชื่อ...ลองตามไปดู 
... 





อะไรคือ Light Graffiti? 
ถ้าจะให้พูดง่ายๆ มันคือการวาดรูปด้วยแสง และเก็บแสงที่เราวาดไว้ แต่ในเมื่อมันเป็นแสง เราจะเก็บยังไง? เราก็ต้องเก็บบันทึกมันไว้ในสภาพของรูปถ่าย ซึ่งส่วนใหญ่ภาพถ่ายชนิดนี้ จะเป็นการถ่ายภาพในเวลากลางคืน หรือในห้องที่มีแสงน้อย หลักการของมันก็คือ เก็บแสงที่เราวาดด้วยการเคลื่อนกล้อง หรืออาจจะเคลื่อนมือของเราเองก็ได้ 


โดยพื้นฐานแล้ว Light Graffiti คือจิตรกรรม (Fine Art) อย่างหนึ่ง เพียงแต่แตกต่างในเรื่องของเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างงาน อย่างเช่นถ้าเราจะสร้างงานบนผืนผ้าใบ พู่กันกับสี ก็คือเครื่องมือในการสร้างภาพวาด แต่สำหรับงาน Light Graffiti นั้นสภาพแวดล้อม กล้องถ่ายรูป และแสงจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการสร้างงาน Light Graffiti 




แต่ถ้าจะมองในแง่เนื้อหาของศิลปะแล้ว Light Graffiti น่าจะเหมาะกับคำว่า ศิลปะการแสดง (Performance Art) มากกว่า เพราะเมื่อเวลาเราดู Light Graffiti มันก็เหมือนกับเรากำลังดูโชว์ของแสง ซึ่งมันเป็นเหมือนสิ่งมีชีวิตที่กำลังเล่าเรื่องราวให้เราฟัง และในขณะเดียวกัน นอกจากศิลปะแขนงนี้จะตอบสนองความต้องการของศิลปินแล้ว มันยังสื่อให้เห็นถึงวัฒนธรรมใหม่ๆ ของคนเมือง รวมทั้งวิธีการนำเสนอวัฒนธรรมแวดล้อมของคนเมืองแบบใหม่ๆ ได้อีกด้วย 




Light Graffiti มีต้นกำเนิดมาจากไหน? 
รายละเอียดในเรื่องนี้จริงๆ ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ที่แน่ๆ คือมันมีอยู่ก่อนที่คนจะให้คำจำกัดความว่ามันคือศิลปะ Light Graffiti เสียอีก เพราะมีข้อมูลที่น่าสนใจว่าในปีค.ศ. 1924 ปิกัสโซ่ (Pablo Picasso) ได้ทำ Light Graffiti ด้วยการสเกตช์ภาพในอากาศด้วยปากกาแสง (Light Pen) ทำให้คิดได้ว่ามันอาจไม่ใช่ของใหม่ เพียงแต่เรามาตั้งนิยามให้มันใหม่ก็เท่านั้น 



Light Graffiti ที่สเก็ตภาพในอากาศด้วยปากกาแสงฝีมือปิกัสโซ่




งาน Light Graffiti มีกี่แนวทาง? 
สำหรับเรา เราคิดว่ามันไม่มีขอบเขต มันขึ้นอยู่กับว่าคนที่ให้คำจำกัดความกับมันนั้น มองมันอย่างไร บางคนอาจจะแบ่งเป็นงานแบบสองมิติ หรือสามมิติ บางคนมองเป็นความสมจริง (Real) หรือเหนือจริง (Surreal) มันก็ได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับสไตล์ของศิลปินแต่ละคนมากกว่า ว่าอยากทำภาพให้ได้ออกมาในแนวไหน 


มันจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม Hiphop หรือเปล่า? 
ถ้าพูดถึงแค่ Graffiti เพียวๆ ที่เราเห็นตามกำแพงทั่วไป นั่นก็อาจจะบอกได้ว่ามันมาพร้อมๆ กับวัฒนธรรม Hiphop 


แต่สำหรับ Light Graffiti ถึงแม้มันจะมีรากฐานมาจาก Graffiti แต่ไอเดียในการสร้างสรรค์งานมันคนละรูปแบบกัน รวมทั้งตัวชิ้นงานก็แตกต่างกัน 


บางคนอาจจะมองว่า Graffiti เป็นสิ่งสร้างสรรค์ที่ทำลายสภาพแวดล้อม เพราะทำให้กำแพงบ้านเมืองสกปรก แต่งาน Light Graffiti มันมีความแตกต่าง เพราะมันเป็นเพียงงานภาพถ่ายที่ไม่ได้ไปทำให้กำแพงบ้านใครเดือดร้อน อีกอย่างคือ Light Graffiti มันไม่ได้มีสไตล์เฉพาะเจาะจง 


ดังนั้นจะให้บอกว่ามันเป็นส่วนหนึ่งมันก็ได้ เพราะคนที่นิยมวัฒนธรรม Hiphop บางคนก็ทำ Light Graffiti แต่มันไม่ใช่ว่าคน Hiphop ทุกคนจะต้องทำ Light Graffiti และอีกแง่หนึ่งก็คือไม่ใช่เพียงแค่คน Hiphop เท่านั้นที่จะทำได้ ฮิปปี้ เรกเก้ พังก์ เด็กเล็ก เด็กโต ผู้ใหญ่ ใครๆ ก็ทำได้เหมือนกันถ้าคนเหล่านั้นเขาสนใจอยากจะสร้างสรรค์ศิลปะในแนวนี้ เมื่อเราสร้างสรรค์งานออกมา ตัวงานจะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้คนทั่วไปเห็นเองว่าคนคนนั้นเป็นยังไง 


แสดงว่างาน Graffiti มันสามารถไปจับได้กับงานอีกหลายๆ ช่องทาง ถ้าอย่างนั้นคุณคิดว่าเราจะสามารถเอา Graffiti ไปจับกับอะไรได้อีก หรือแนวโน้มในอนาคตจะเป็นยังไง? 
ถ้าจะมองตามรูปแบบของ Graffiti โดยตัวของมันเอง ที่มีอยู่แล้วและเห็นได้ชัดก็น่าจะเป็นตัวอักษร (Font) เพราะงานมันมีสไตล์เฉพาะตัว จนคนที่ได้พบเห็นสร้างประสบการณ์ให้แก่ตัวเองไปแล้วว่าตัวอักษรแนวนี้เป็นแนว Graffiti ดังนั้นเวลาที่เราเห็นแต่ตัวอักษร ไม่จำเป็นต้องไปเห็นจากบนกำแพง มันก็ยังสามารถทำให้เราเข้าใจว่ามันคือความเป็น Graffiti อยู่ดี ในแง่นั้นอาจเรียกได้ว่ามันมีสไตล์ 


แต่ถ้าเรามองด้วยคอนเซ็ปต์ที่ว่า Graffiti มันคือการสร้างสรรค์งานผ่านทางสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ มันก็น่าจะสามารถไปจับกับสิ่งอื่นๆ ได้อีกหลายช่องทาง เพราะมันไม่มีขอบเขต อย่าง Light Graffiti มันก็ถูกจับคู่กับเรื่องของแสง ในอนาคตมันอาจจับคู่กับเสียงออกมาเป็น Sound Graffiti ก็เป็นได้ มันอยู่ที่ว่าคนที่สร้างสรรค์งานนั้น อยากจะเลือกใช้สื่อสัมผัสทางไหนในการนำเสนอ 



LICHTFAKTOR ศิลปิน Light Graffiti ชาวเยอรมัน



ผลงานของกลุ่ม LICHTFAKTOR






แล้วอะไรที่ทำให้คุณสนใจในศิลปะแขนงนี้? 
คือเราเป็นคนชอบถ่ายรูปอยู่แล้ว บางทีถ่ายแต่รูปชัดๆ สวยๆ เอาแต่ภาพคมๆ เห็นแต่คนนั่งยิ้มให้กล้อง หรือถ่ายวิวทิวทัศน์มันก็น่าเบื่อ เลยลองถ่ายด้วยวิธีการมั่วของตัวเองไปเรื่อยๆ วันหนึ่งได้ภาพออกมาเป็นแนวนี้ เห็นแล้วรู้สึกชอบมาก ทั้งๆที่ตอนนั้นยังไม่รู้ว่ามันเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่มีคนสนใจ และให้คำจำกัดความชัดเจนว่าเป็น Light Graffiti 


พอไปเจอบทความที่เขียนถึงกลุ่ม Lichtfaktor ศิลปิน Light Graffiti ชาวเยอรมันเท่านั้นก็เกิดอาการถอนตัวไม่ขึ้น เพราะเขาทำภาพออกมาได้อย่างน่าสนใจ ด้วยการโยงแสงที่วาดให้เข้ากับวัตถุแวดล้อมแถวๆ นั้น เช่น วาดแขนวาดขาให้ถังขยะเพื่อทำให้มันออกมาเป็นหุ่นยนต์ แล้วจากผลงานชิ้นนั้นเขายังต่อยอด เอามามำเป็นวิดีโอคลิปเพื่อสร้างเป็นเรื่อง Star war VS Star Trek ได้อีก มันดูแล้วสนุก ตื่นเต้น แล้วก็จุดประกายให้เราอยากทำได้อย่างเขาบ้าง เราจึงหาเพื่อศึกษาเพิ่ม มันทำให้เราได้เจออะไรแปลกๆ เยอะเข้าไปอีก 


จะทำ Light Graffiti ต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้าง? 
อย่างที่บอกไปว่ามันคือการเก็บแสงที่เราวาดด้วยการเคลื่อนกล้อง หรือเคลื่อนมือที่ถือแสง เพราะฉะนั้นเครื่องมือที่เราต้องมีอยู่ในมือก่อนอื่นเลย ก็คือกล้องและแหล่งกำเนิดแสง กล้องที่นิยมใช้ในการถ่ายภาพแนวนี้ก็คือกล้อง DSLR (Digital Single lens Reflex Camera) เพราะเราสามารถปรับให้กล้องเปิดชัตเตอร์ไว้นานๆ ได้ (Long Exposure) 


จริงๆ แล้ววิธีนี้มันก็เหมือนกับเวลาที่เราถ่ายไฟ พลุ ในเวลากลางคืน ถ้าเราไม่เปิดชัตเตอร์ให้รับแสงได้นานๆ แสงที่ได้ออกมาในภาพก็จะไม่มีความละเอียดและสมจริง อีกอย่างคือมันสามารถปรับความไวแสง (ISO) ของกล้องให้มีระดับต่ำเพื่อช่วยให้ได้การถ่ายภาพแบบ Long Exposure ได้ 


แต่ไม่ใช่ว่ากล้องชนิดอื่นๆ จะทำ Light Graffiti ไม่ได้ เพียงแต่การทำ Light Graffiti มันอาศัยการทดลอง ซึ่งการใช้กล้อง DSLR ก็สามารถทำให้เราได้เห็นภาพในทันที อีกทั้งคุณภาพที่ได้ออกมาก็ถือว่าดีกว่าการใช้กล้องดิจิตอลคอมแพกต์ธรรมดาที่ไม่สามารถปรับความไวชัตเตอร์ได้ 


สิ่งต่อมาก็คือแหล่งกำเนิดแสง ถึงแม้ว่าในเวลากลางคืนจะมีแสงไฟอยู่บ้างก็จริง แต่ถ้าอยากวาดเป็นรูปที่มีสีสันเฉพาะ เราก็ควรหาแหล่งกำเนิดแสงตามที่เราต้องการ ซึ่งมันก็ไม่ได้หายากอย่างที่คิด ของเล็กๆ น้อยๆ อย่างไฟฉาย ของเล่นเด็กที่มีไฟกะพริบได้ หรือแม้กระทั่งแสงไฟจากโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถเป็นต้นกำเนิดแสงได้เช่นกัน มันขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้อะไรเพื่อให้เหมาะกับภาพที่เราต้องการมากกว่า 


สิ่งจำเป็นชิ้นต่อไปก็คือ ขาตั้งกล้อง ซึ่งมันจะจำเป็นในกรณีที่เราต้องการให้ภาพพื้นหลังคงที่ แล้วเราวาดแสงลงไปในภาพนั้น ถ้าเราไม่มีขาตั้งกล้องแล้วเปิดชัตเตอร์ให้รับภาพนานๆ แน่นอนที่สุดว่ามือเราจะต้องสั่น ทำให้ภาพที่ได้ออกมาเบลอจนมองไม่ออกว่าอะไรเป็นอะไร 


แต่ถ้าเราคิดจะทำ Light Graffiti ด้วยการขยับกล้อง ขาตั้งกล้องก็อาจไม่มีความจำเป็น เพราะบางคนอาจจะชอบให้ภาพเบลอๆ ก็ได้ สไตล์ใครสไตล์มัน 


แล้วเรื่องทักษะล่ะ? 
จริงๆ แล้วไม่จำเป็นต้องมีทักษะอะไรเลย ใครๆ ก็สามารถทำได้ เพียงแค่รู้พื้นฐานที่จำเป็นของการทำ Light Graffiti แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าการทำงานของกล้องจะทำให้กลไกการสร้างสรรค์ผลงานสามารถไปได้กว้างไกลกว่าเท่านั้น 


ลองนึกภาพดูว่าถ้าเด็ก 5 ขวบลองถ่ายกล้องดิจิตอลของแม่เล่นในขณะที่แม่ถือโทรศัพท์มือถือส่ายไปส่ายมา แล้วเกิดบังเอิญได้ภาพแนวนี้ ออกมา มันก็จัดว่าเป็น Light Graffiti ได้เหมือนกัน แต่คนที่อยากทำจริงๆ แน่นอนว่าเขาก็ต้องทำให้มันซับซ้อนขึ้นไปอีก สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำ Light Graffiti น่าจะเป็นจินตนาการมากกว่า มันขึ้นอยู่กับว่าคนคนนั้นมองแสงยังไง อยากเล่าเรื่องด้วยแสงผ่านทางสภาพแวดล้อมที่เขามีบอกมาในลักษณะไหน มันเป็นสิ่งที่อาศัยการลองผิดลองถูก และประสบการณ์เฉพาะตัว ดังนั้นจะมองว่ามันง่ายก็ง่าย จะมองว่ายากมันก็ยาก 


ช่วยเล่าวิธีการทำให้ฟังหน่อย? 
ไม่มีอะไรยาก เมื่ออุปกรณ์พร้อม ไอเดียพร้อม สถานที่พร้อม ต่อจากนี้เราก็แค่ออกไปลงมือถ่าย พร้อมทั้งปรับ ISO กับความไวชัตเตอร์ให้ต่ำเข้าไว้ ช่วงระยะเวลาที่กล้องเปิดชัตเตอร์อยู่ ก็ลงมือวาดด้วยแหล่งกำเนิดแสงที่เรามี ตามความพอใจ ตามดีไซน์ของเราได้เลย 



ผลงานของ Eric Staller




แล้วในต่างประเทศ ศิลปินชาวต่างชาติที่เก่งในด้านนี้มีใครบ้าง? 
สำหรับคนที่ค่อนข้างเป็นที่รู้จักในวงกว้างก็คือ Lichtfaktor กลุ่มศิลปินชาวเยอรมัน พวกเขาเริ่มจากการทำโปรเจกต์เล็กๆ แต่เมื่อมีคนมาเห็นเข้า และเกิดสนใจในความแปลกใหม่ของมัน พวกเขาจึงถูกชักชวนให้ไปทำโฆษณา อย่างเช่น Absolute Vodka, Audi, และ Playstation โดยงานของกลุ่มนี้จะเน้นการโยงสภาพแวดล้อมกับแสง และการดีไซน์แสง 


ศิลปินอีกคนที่น่าสนใจก็คือ Eric Staller หนุ่มสัญชาติอเมริกันจากนิวยอร์ก งาน Light Graffiti ของเขาถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ช่วงปีค.ศ.1976-1980 แต่ก็ยังสามารถสัมผัสได้ถึงความร่วมสมัยอยู่ งานของเขาจะเน้นการทำภาพให้ออกไปแนวสามมิติ มีความลึกของมุมมองในภาพมากกว่ากลุ่มแรก ปัจจุบัน Eric มีอายุ 60 กว่าปีแล้ว เรียกได้ว่าเป็นคุณปู่รุ่นเก๋าของวงการนี้ก็ว่าได้ 


ส่วนคนสุดท้ายที่อยากแนะนำให้รู้จัก เขาคือ Dean Chamberlain คนนี้ก็มีความเก๋าในงานไม่น้อยหน้าใคร ถึงแม้งานของเขาจะถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปีค.ศ.1977 แต่ความร่วมสมัย อีกทั้งยังมีจุดเด่นในงานที่เน้นความเหนือจริงแบบแฟนตาซี ใช้เทคนิคการเก็บภาพแบบ Long Exposure ที่ยาวนาน มีเรื่องเล่าว่า เคยมีภาพชุดหนึ่งที่เจ้าตัวบอกว่ากว่าจะได้สักภาพหนึ่งออกมา ต้องใช้เวลามากกว่า 5 ชั่วโมงเลยทีเดียว โดยเขาให้คอนเซ็ปต์กับมันว่า “Painting with Light through Time and Space” 



ผลงานของ Dean Chamberlain



ผลงานของ Michael Bosanko



ผลงานของ Patrick Rochon





ผลงานของ Toby Keller





ผลงานของ Ryan Warnberg and Michelle McSwain




กลับมาที่บ้านเรา มีคนไทยที่ทำ Light Graffiti กับเขาบ้างไหม? 
เท่าที่รู้มาก็ยังไม่เคยเห็นใครออกมายกมือขึ้นว่าเป็น Light Graffiti Photographer แบบเป็นตัวเป็นตน แต่คนที่ทำเป็นก็คงมีอยู่ทั่วไป เพียงแต่เขาไม่รู้ว่ามันถูกเรียกว่า Light Graffiti ก็เท่านั้น ที่เคยเห็นบ่อยๆ ก็คือเวลาคนไปเที่ยวชายทะเล แล้วเล่นไฟเย็นตอนกลางคืน เขามักจะถ่ายรูปการวาดด้วยไฟเย็นให้ออกมาเป็นรูป หรือตัวอักษร ซึ่งนั่นก็ถือเป็น Light Graffiti อย่างหนึ่งเหมือนกัน มันเหมือนกับว่ากระแสนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากในเมืองไทย คิดว่าถ้ามีคนรู้จักมากขึ้น งาน Light Graffiti ในเมืองไทยก็คงมีการพัฒนาไปได้ในหลายๆ ทาง 



Graffiti : Art or Crime *

สะท้อนสังคม ผ่านงานศิลปะ 
Graffiti - กราฟฟิติ 
สารของคนที่ไร้ตัวตน หรือแค่งานขีดเขียนที่ไร้ระเบียบ 
งานค้นคว้าทางวิชาการศิลปะ ของนักศึกษากระบวนวิชาปรัชญาศิลป์ และศิลปวิจารณ์ 2544 
ควบคุมโดย สมเกียรติ ตั้งนโม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โครงการกราฟฟิติ (Project : Graffiti) 
 


1. บทนำและประวัติศาสตร์ (History / Introduction) 
สำหรับคำว่า Graffiti เป็นศัพท์ที่หมายถึง"ภาพวาดที่เกิดจากการขีดเขียนหรือการขูดขีดไปบนผนัง" เป็นศัพท์ที่มาจากภาษากรีก คือคำว่า "graphein" ที่แปลว่า"การเขียน" และคำว่า "graffiti" โดยตัวของมันเองเป็นคำพหูพจน์ของคำว่า "graffito"ในภาษาอิตาเลียน ศิลปะในรูปแบบของ graffiti เกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 บางคนบอกว่ามันเป็นตัวแทนของความพึงพอใจของมนุษย์ที่ต้องการที่จะสื่อสารออกมา และเป็นประวัติศาสตร์ของการสื่อสารในรูปแบบหนึ่ง 


ความเป็นมาของงานประเภท Graffiti เดิมทีเกิดขึ้นในช่วงปลายของทศวรรษ 1960 เมื่อ Julio204 เริ่มที่จะเซ็นลายเซ็นของเขาไปทั่วมหานครนิวยอร์ก หลังจากนั้นไม่นาน เด็กหนุ่มชาวกรีกที่มาจากเกาะแมนฮัตตันที่ชื่อ Demitrius ที่ใช้ชื่อแฝงว่า Taki183 ก็มีลายเซ็นของเขาอยู่ทั่วเมืองเช่นกัน Taki183 สนใจที่จะสร้างสรรค์งานในสถานีรถไฟใต้ดินในนิวยอร์ก และเขาทั้ง 2 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาผลงานจนมีชื่อเรียกว่า "New York Style" ซึ่งมีชื่อเสียงมากในเวลาต่อมา 


มีคนบอกว่า นามแฝงนั้นได้เริ่มขึ้นที่เมืองฟิลาเดลเฟียพร้อม ๆ กับตำนานของ Cornbread และ Top Cat หลังจากที่ได้มีการพัฒนาและเกิดขึ้นอย่างจริงจังในนิวยอร์กแล้ว Top Cat Style ก็เกิดขึ้นในนิวยอร์กและถูกเรียกว่า Broadway Style 


เนื่องจากตัวหนังสือที่ใช้เซ็นมีลักษณะที่เป็นตัวอักษรที่ผอมและยาว 


ในปี1971 "นักเขียน"นับร้อยก็ได้เกิดขึ้นในนิวยอร์กราวกับพายุ(ศิลปินที่สร้างสรรค์งาน graffiti ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า writer ซึ่งในที่นี้แปลว่า"นักเขียน") นามแฝงและผลงาน graffiti ได้รับความสนใจขึ้นมาในยุคต้นของปีทศวรรษ 1970 ซึ่งหลายๆคนที่ทำงานประเภทนี้ ต่างก็ถูกตำรวจจับ เนื่องจากได้ก่อให้เกิดความไร้ระเบียบ สกปรก รกรุงรัง และเป็นที่อุจาดทางสายตา 


นอกจากคนส่วนมากและเจ้าหน้าที่ทางการจะมองว่างาน graffiti เป็นเหตุแห่งความไร้ระเบียบและความสกปรกข้างต้นแล้ว มันยังถูกตั้งประเด็นที่น่าสนใจอีกด้วยว่าเป็นการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ โดยพวก"นักเขียน"วัยหนุ่มสาวทั้งหลาย แต่เราจะเห็นว่ามันเป็นมากกว่าการทำลายพื้นผิวธรรมดา เพราะว่ามันมีหลายหลายวิธีที่นักเขียนจะเลือกมาใช้เพื่อการทำลายได้ ทั้งรูปแบบของการทำเครื่องหมายประจำตัว, Slogan, การใส่ร้ายป้ายสี, กฎระเบียบของสังคม ส่วนใหญ่มักจะพบได้ตามผนังห้องน้ำและพื้นผิวของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ถูกเรียกว่า "ขยะ" 


ในส่วนของคำว่า"ขยะ" มันเป็นชื่อที่ใช้เรียก"นักเขียน"ที่แย่มาก ๆ อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกันก็มีการเซ็นนามแฝงในลักษณะที่เป็นแนวแฟนซีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นชื่อหรือว่าชื่อเล่น(ในการใช้นามแฝงนั้นมักจะเป็นชื่อ / ชื่อเล่นแล้วตามด้วยหมายเลขถนน) นามแฝงถูกออกแบบให้มีรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีการออกแบบแล้วก็ตาม หลายคนยังมองสิ่งเหล่านี้ว่ามันยังขาดเสียซึ่งคุณค่าในทางศิลปะอยู่ดี 


แม้หลายต่อหลายคนจะพยายามทำงาน graffiti ให้มันดีขึ้น แต่นั่นก็ไม่ใช่ความต้องการในเชิงศิลปะ เพราะโดยพื้นฐานแล้ว งาน Graffiti จะชี้ให้เห็นถึงการแสดงออกของนักเขียนมากกว่า นามแฝงเป็นสิ่งหนึ่งที่เหมือนกับการบ่งบอกถึงความเป็นสมาชิกของกลุ่มคนทำงานแนวนี้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก็ไม่ได้หมายถึงว่าจะมีการสร้างสรรค์งานที่มีทักษะที่ดี มันเป็นเพียงแค่สิ่งที่ใช้บ่งบอกถึงการทำงานเป็นทีมเท่านั้นเอง 


ถึงแม้ว่า"นักเขียน"ทั้งหลายไม่อยากที่จะเปรียบเทียบงานของตนกับพวกที่ทำงานเป็นกลุ่ม แต่ทั้ง 2 กลุ่มก็มีหลาย ๆสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ ทั้ง 2 กลุ่มต่างก็ค้นหาการได้รับการยอมรับจากคนกลุ่มเดียวกัน, ต่างก็ใช้นามแฝง ,เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย , มองเห็นตัวเองที่ทำตัวดีเด่นในด้านมืด และยังมีอายุน้อย รวมทั้งต่างก็ยากจน 


แม้ว่าผลงาน graffiti จะได้มีการพัฒนาตัวเองให้มีคุณค่าเชิงศิลปะมากขึ้น และมีการสร้างสรรค์งานอยู่แทบทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะในหลุยส์วิลล์, เคนตักกี้, แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังคงพูดว่า "นิวยอร์กเป็นที่สร้างสรรค์ graffiti และยังคงเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์งาน graffiti" และหลังจากที่ graffiti ได้เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ผู้คนส่วนหนึ่งเริ่มยอมรับมันมากขึ้น แม้จะมีคนอีกจำนวนมากไม่เห็นด้วยก็ตาม สำหรับงาน Graffiti มันถูกทำให้เด่นชัดโดยชาวหนุ่มสาวชาวเปอร์โตริกัน อาฟริกัน และอเมริกัน ซึ่งมาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน 


ในวันนี้ graffiti ได้เป็นที่สนใจของคนทั่วไปทั้งชายและหญิง ทุกเผ่าพันธุ์ ศาสนา และเชื้อชาติ ที่มาจากทุก ๆพื้นฐานของเศรษฐกิจและสังคมของทุกชนชั้น และเราก็จะพบว่า"นักเขียน"เหล่านี้มีอายุตั้งแต่ 8 ขวบ ถึง 30 กว่า ๆ graffiti สามารถเข้าไปกระเทาะในทุกๆสิ่ง ทุกๆที่ ในหลายๆรูปแบบ นับจากรูปแบบที่เป็นรูปของนามแฝงที่มีการออกแบบอย่างง่ายๆไปจนถึงมีการออกแบบที่หลากหลายมากขึ้น 


2. พัฒนาการ (Development) 
นับจากทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นงานเครื่องปั้นดินเผาไปจนถึงการปล้นธนาคาร ล้วนแต่มีการพัฒนากิจกรรมในตัวมันเองมาโดยตลอด สำหรับผลงาน graffiti ก็เช่นเดียวกัน ได้มีพัฒนาการในรูปแบบของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นไปในด้านของทักษะและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งตลอดเวลาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ มันเหมือนกับงานเครื่องปั้นดินเผาตรงที่พยายามพัฒนารูปทรงใหม่ๆเกิดขึ้น วิธีการและเทคนิกต่าง ๆ และก็เช่นเดียวกับการปล้นธนาคาร มันจะต้องหาวิธีการและวางแผนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อที่จะทำลายระบบรักษาความปลอดภัย และเพื่อขีดเขียนในที่ต้องห้าม 


ในตอนที่ graffiti ได้รับความนิยมในช่วงแรก ๆ เครื่องมือของอาชีพนี้ส่วนใหญ่จะเป็นปากกามาร์กเกอร์หัวโต และสีสเปรย์ พวกมันถูกนำมาใช้ ไม่ใช่เพราะมันมีความสำคัญสำหรับตัวงาน แต่ว่าสำหรับนามแฝงที่ต้องการให้ดูโดดเด่น การแข่งขันได้เริ่มต้นรุนแรงขึ้นเรื่อยๆในนิวยอร์ก(ช่วงต้นปีทศวรรษ 1970) มันกลายเป็นว่า ต้องทำชื่อให้มีขนาดใหญ่กว่าและหนากว่า หลังจากช่วงนั้นได้ผ่านไป หลายๆคนก็ค้นพบว่า มันสามารถทำตัวหนังสือให้ตัวใหญ่ได้ รูปแบบเริ่มจากแค่ปลายเท้าไปจนถึงขนาดเท่าบานประตู (ในตอนแรกการสร้างสรรค์งาน จะเริ่มจากการทำชื่อของตัวเองก่อน แล้วค่อยๆพัฒนาไปเป็นงานในรูปแบบอื่น) 


A Top to Bottom (จากบนลงล่าง) เป็นรูปแบบหนึ่งที่ใช้เขียนลงบนรถไฟใต้ดิน ที่คลอบคลุมงานจากบนลงล่างด้วยงานเพียงชิ้นเดียว มันเป็นการยากที่จะบอกว่าใครเป็นคนริเริ่มการทำงานแบบนี้เป็นคนแรก และใครเป็นคนทำงานแบบนี้ได้ดีที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะว่า graffiti มีความไม่แน่นอนและไม่ใช่สิ่งที่ตายตัวมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว มีคนบางคนบอกว่า มันไม่มีประวัติศาสตร์ของ graffiti มันขึ้นอยู่กับที่ๆเราอาศัยอยู่, ปีที่เราเกิด, ถนนที่เราขับรถผ่าน, ซึ่งมันจะเป็นประวัติของ graffiti ส่วนตัวของเราได้ดีที่สุด 


มีหลาย ๆ รูปแบบและวิธีการที่จะบอกได้ถึงชนิดของ graffiti หลายคนต่างพยายามตั้งชื่อของมันในรูปแบบของตัวเองบ้างก็พยายามรวบรวมความเป็นต้นฉบับของมัน แต่ก็ไม่สามารถให้คำจำกัดความได้ อย่างไรก็ตาม ในที่นี้จะพยายามจัดหมวดหมู่งานประเภทนี้โดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลักๆ ที่มองเห็นอย่างชัดเจน ซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นโดยนักเขียน ดังนี้ 


1. Tag เป็นรูปแบบของการเขียนชื่อ 
2. Throw up เป็นรูปแบบที่สร้างสรรค์ขึ้นอย่างรวดเร็วที่มีขนาดใหญ่กว่า Tag ส่วนใหญ่มันจะถูกทำมาจากตัวหนังสืออ้วน ๆที่เรียกกันว่า Bubble Letter ซึ่งใช้สีไม่เกิน 2 สี Subway Art จะเรียกวิธีการนี้ว่ามันเป็นการเพนท์ชื่อที่ใช้ความรวดเร็ว ซึ่งเป็นงานพื้นผิวเดียวที่ใช้สเปรย์พ่นเป็นตัวหนังสือออกมา และมีเส้นขอบของตัวหนังสือแค่นั้น 
3. Burner เป็นรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้นและมีการใช้ทักษะมากขึ้นในเชิงศิลปะ เป็นรูปแบบที่นักเขียนจะให้ความสนใจมาก ถึงแม้ว่าแบบที่ 1 และแบบที่ 2 จะสามารถทำให้เป็นรูปแบบสมบูรณ์และน่าสนใจได้ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับนักเขียนว่าต้องการจะนำเสนอในรูปแบบใด 


ออกจะเป็นการยากทีเดียวในการที่จะค้นหากำแพงที่มีความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งจะต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการสร้างงาน นักเขียนบางคนพยายามมองหากำแพงว่างเปล่าที่ถูกกฎหมาย เพื่อที่จะใช้สร้างสรรค์ผลงานของพวกเขา แต่หนึ่งในทักษะของอาชีพนี้ก็คือ ต้องสามารถหาจุดยืนและทำสิ่งที่คุณต้องการทำ และต้องไม่หนีไปหากำแพงที่ถูกกฎหมายในตลอดเวลาที่คุณต้องการ กำแพงที่ถูกกฎหมายยังเป็นสิ่งที่ยืนยันได้อย่างดีถึงความทะเยอทะยานของนักเขียน ศิลปินบางคนเลือกที่จะทำงานจิตรกรรมฝาผนังที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่านักเขียนหัวรุนแรงบางคนจะดูถูกคนประเภทนี้ก็ตาม 


ในช่วงทศวรรษที่ 1970 ถึงกลางทศวรรษ 1980 รถไฟใต้ดินยังคงเป็นที่นิยมในการถูกนำมาใช้เป็นผืนผ้าใบหรือพื้นรองรับงานเขียน ในปลายปีทศวรรษ 1980 ในนิวยอร์ก graffiti ถูกบังคับให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปอย่างเป็นทางการ เพราะว่า graffiti ที่ทำลงบนรถไฟใต้ดินนั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อ 12 พฤษภาคม 1989 ถึงแม้ว่าจะยังคงเห็นงาน graffiti อยู่ที่นั่นบ้างก็ตาม แต่บางส่วนของงาน Graffiti ที่ทำกับขบวนรถไฟ ได้ถูกขัดถูทำความสะอาดไป 


ในมหานครนิวยอร์กและเมืองอื่น ๆ ต่างพยายามที่จะสร้างระบบรักษาความปลอดภัย การทำรั้วกั้น การใช้สายไฟเปลือยมากั้นบริเวณลานจอดรถไฟ มีการออกกฎหมายและมีสร้างบทลงโทษที่เข้มงวดรุนแรงมากขึ้น ด้วยมาตรการดูแลและรักษาความปลอดภัยอย่างเอาจริงเอาจัง วิธีป้องกันดังกล่าวได้นำไปสู่ความเป็นความตายของงาน graffiti ในที่สุด ในกรณีนี้ทำให้งานศิลปะของรถไฟใต้ดินได้สูญสลายไป 


นับเป็นเรื่องที่น่าเศร้า สืบเนื่องจากระบบเครือข่ายของรถไฟใต้ดินที่ได้ถูกนำมาใช้ มันส่งผลโดยตรงต่อนักเขียนซึ่งต้องขึ้นอยู่กับรถไฟ เพื่อที่จะต้องใช้สำหรับการแสดงงานของพวกเขาสู่สายตาประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสายตาของนักเขียนคนอื่น ๆ ในขณะที่ตัวรถแล่นไปยังเมืองต่างๆ 


ในตอนที่ศิลปะในรถไฟใต้ดินได้หยุดลงไปนั้น นักเขียนบางคนรู้สึกแย่จนถึงกับเลิกที่จะทำงาน graffiti ไปเลยก็มี แต่ส่วนใหญ่พวกเขาเลือกที่จะสร้างสรรค์งานในที่อื่นต่อไป อย่างเช่นตามท้องถนน บนรถไฟ ซึ่งจะสามารถสร้างจินตนาการของเขาให้ผลงานได้โลดแล่นไปในพื้นที่ต่าง ๆ แต่ไม่ว่าจะวาดอะไรหรือว่าจะวาดที่ไหนก็ตาม พวกเขาจะต้องปฎิบัติตามกฎที่ได้วางไว้ ซึ่งได้กล่าวไว้ในส่วนหนึ่งของ Unwritten graffiti constitution และกล่าวรวมถึงมารยาทในการสร้างงาน graffiti ที่ว่า "ไม่ควรที่จะเขียนชื่อตัวเองทับบนชื่อของคนอื่น เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่สุภาพ" สำหรับหนังสือที่ชื่อ The faith of graffiti ถูกเขียนขึ้นมาในต้นปี 1970 เป็นหนังสือเล่มแรกที่เขียนถึง graffiti อย่างเต็มรูปแบบ 


อย่างไรก็ตามคุณต้องบอกได้ถึงความแตกต่างระหว่างงาน graffiti ของห้องน้ำผู้ชายและ graffiti ในรถไฟใต้ดิน หรือ graffiti ที่เขียนโดยมีวัตถุประสงค์และโดยผู้มีทักษะ และเช่นเดียวกัน บ่อยครั้งที่นักเขียนได้ฝ่าฝืนกฎข้อสำคัญที่ไม่ควรเซ็นชื่อตัวเองทับชื่อคนอื่น ซึ่งได้ทำให้เกิดปัญหาอยู่บ่อยครั้ง เพราะว่ามันเป็นเหมือนบางสิ่งที่ได้บ่งบอกถึงเครดิตคนทำงาน มันคืองานโฆษณาเพื่อตัวเอง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่จะทำให้ตัวเองเป็นที่รู้จัก คุณจะต้องมีกลยุทธ์ทางการตลาด คุณต้องค้นหาว่าอะไรที่เป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะทำให้ชื่อของคุณเป็นที่รู้จักและโด่งดังไปทั่ว และสำหรับใครบางคนที่ขโมยกลยุทธ์หรือวาดภาพทับลงไปบนงานโฆษณาของคุณ นั่นถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยามและอาชญากรรมอันรุนแรง 


ในการทำงาน หัวพ่นสีสเปรย์ถือเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ใช้กัน แต่หลังจากนั้น Superkool ก็ได้ค้นพบอุปกรณ์บางสิ่งที่จะมาแทนหัวพ่นสีสเปรย์ที่แคบๆ โดยการนำเอาหัวพ่นโฟมสเปรย์ที่มีการกระจายตัวได้กว้างกว่ามาเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำงาน 


นักเขียนส่วนใหญ่พยายามที่จะใช้หัวพ่นสีสเปรย์ในการทำงาน แต่ในขณะเดียวกันก็มองหาแหล่งอุปกรณ์ใหม่ ๆ ในการทำงานด้วยเช่นกัน มีการสั่งซื้อกระป๋องสเปรย์ที่มีหัวพ่นในรูปแบบต่าง ๆ (The most commonly carried caps are "New York" and "German" fat cap (broad dispersion) and there are New York and German outline (this dispersion) caps as well. In addition,"rusto fats" are available which are the only fat caps that will fit on a can of Rustoleum spray paint) 


รูปแบบหนึ่งที่มีการต่อต้านคือการแสดงให้เห็นว่าบริษัทที่ผลิตสีสเปรย์นั้น ได้มีการผลิตหัวพ่นสีสเปรย์ที่มีขนาดไม่พอดีกับขนาดกระป๋อง มันทำให้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับนักเขียนที่จะทำงานในพื้นที่ขนาดใหญ่ให้มีความรวดเร็วและประณีต ดังนั้นจึงทำให้นักเขียนต้องค้นหาวิธีอื่นในการทำงาน ซึ่งอันนี้เป็นที่มาของรูปแบบที่ได้มีการเปลี่ยนไปเพื่อที่จะได้มีความเหมาะสมกับอุปกรณ์ ดังนั้น graffiti จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆพร้อมๆกับบรรดานักเขียนหน้าใหม่ๆ แต่นักเขียนรุ่นเก่าบางคน ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะรับกับการเปลี่ยนแปลงแบบนั้นได้ 


3. ศิลปะสามารถสร้างขึ้นจากปลายพู่กันเช่นเดียวกับกระป๋องสีสเปรย์ 
(Art can come from paint brushes as well as paint can) 5 
ถึงแม้ว่า graffiti จะถูกมองว่าเป็นเรื่องของสิ่งที่ไม่เป็นแบบแผนและเกิดขึ้นด้วยตัวของมันเอง Lee ซึ่งเป็น"นักเขียน"ที่มีฝืมือคนหนึ่ง เขาได้สร้างงานบนรถไฟทั้งขบวน(10 ตู้โดยสาร) ซึ่งน้อยนักที่จะมีคนสร้างงานแบบนี้ โดยปกติแล้วการทำงานใหญ่ขนาดนั้นจะใช้สีถึง 100 กระป๋อง และ Lee รวมทั้งทีมงานมีความสามารถที่จะสร้างสรรค์งานในรูปแบบ graffiti ดังกล่าวได้อย่างยอดเยี่ยม 


ผู้คนส่วนมากมักจะไม่คุ้นเคยกับงานศิลปะที่ไร้แบบแผน การเข้าไปเสพงานโดยปราศจากการจัดการที่เป็นแบบแผน อย่างเช่น ในพิพิธภัณฑ์หรือว่าห้องแสดงภาพ อย่าง Graffiti ถือว่าเป็นเรื่องซึ่งห่างไกลตัวผู้คนมาก บางครั้งมันก็อยู่เหนือความคาดหมาย และบางครั้งมันก็น่ากลัว 


สำหรับนักเขียนหรือคนที่ทำงานแบบ graffiti พวกเขามีความคิดที่ว่า หากที่ใดมีกำแพงที่ว่างเปล่า อาคารที่มีรูปทรงที่เรียบง่าย มันเป็นที่ๆดีที่ควรจะมีภาพจิตรกรรมที่สวยงามประดับอยู่บนนั้น ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่า ควรจะมี Graffiti อยู่ที่นั่น 


นักเขียน หรือ writer คนหนึ่งกล่าวทำนองว่า เป็นเรื่องที่น่าเศร้าจากการที่ผู้คนส่วนใหญ่คาดเดาว่า การทำลายสาธารณสมบัตินั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับ Graffiti ความจริงมันเป็นงานเขียนชิ้นเอก ซึ่งบางชิ้นมีความสูงถึง 10 ฟุต และกว้างถึง 50 ฟุต ใช้เวลาอย่างต่ำ 8 ชั่วโมง และใช้สีมากกว่า 30 กระป๋อง บ่อยครั้ง พวกเราทำงานบนสิ่งที่ถือว่าไม่ใช่ทรัพย์สินของตัวเองในชุมชน ทั้งๆที่มันเป็นของพวกเรา 


"พวกเราต่างก็อดทนกับทุกสิ่งโดยไม่มีคำถามใด ๆ ถ้าหากคุณไม่มีเงิน คุณก็แทบจะไม่มีโอกาสที่จะได้ควบคุมสิ่งใดๆในชุมชนเลย แม้แต่คนในชุมชนเองที่มีความรู้สึกว่าพวกเขาเป็นเจ้าของชุมชนนั้นๆ ก็ไม่สามารถแสดงออกถึงความต้องการของตัวเองได้ มันก็เหมือนกับการซื้อบ้านโดยที่มีการเซ็นสัญญาอย่างถูกต้อง ถึงแม้ว่าเราจะเป็นเจ้าของบ้านโดยสมบูรณ์ แต่ถ้าหากมีการทาสีผนังใหม่ภายในบ้านของตนเอง เรากลับต้องโดนจับ และโดนลงโทษอย่างรุนแรง" 


"ถ้าคุณไม่มีเงิน คุณก็จะกลายเป็นคนตกสำรวจ คุณจะไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเองในการใช้คำหรือข้อความที่คุณคิดเอาไว้เพื่อให้คนอื่นได้เห็น มันเป็นเรื่องที่ผิดหรือถ้าหากว่าคุณจะทำให้คนอยู่ไกลออกไปได้เห็นถึงการแสดงออก ได้เห็นถึงความเป็นตัวของคุณ การพยายามทำลายงานเหล่านี้มันยังเป็นการดึงคนออกมาจากศิลปะอีกด้วย ถึงแม้ว่าในตอนนี้ใคร ๆ ก็สามารถทำในสิ่งที่ตื่นตาตื่นใจด้วยสีสเปรย์ แต่อย่างไรก็ตาม มันไม่ใช่ว่าใครก็ตามที่สร้างงาน Graffiti แล้วจะถือว่าเป็นงานที่ดี ซึ่งต่างจากเพลงแรพที่เป็นตัวแทนที่ดีของเพลงประเภท hip hop" 


นักเขียนงานประเภท Graffiti บางคนสามารถไปได้ดีกับแวดวงสังคมของงานศิลปะกระแสหลัก ซึ่งบ่อยครั้งที่ทำให้พวกเขาหลุดออกไปจากงาน Graffiti เรื่องราวทำนองนี้เกิดขึ้นในช่วงปลายปีทศวรรษ 1970 ตอนที่นักเขียนทั้งหลายได้เริ่มแสดงผลงานของพวกเขาบนผืนผ้าใบในงานนิทรรศการผลงานต่าง ๆ มันทำให้ใครหลาย ๆ คนลืมไปเลยว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างสรรค์งานลงบนรถไฟใต้ดิน ในวันที่งาน Graffiti บนผืนผ้าใบทำเงินให้กับนักเขียน 


ผลงาน Graffiti แรกทีเดียว เกิดจากคนทำงานที่เป็นคนผิวดำหรือชนกลุ่มน้อย พวกเขาไม่ใช่ดอกไม้ที่สวยงาม ซึ่งมันก็เป็นความจริงในยุคต้นๆ นักเขียนทั้งหลายหรือบรรดา writer ก็คือชนกลุ่มน้อย พวกเขาสร้างงานที่อยู่นอกแวดวงสิ่งที่เรียกว่าศิลปะ แต่ต่อมามันได้ก้าวเข้าสู่โลกของศิลปะกระแสหลัก(การแสดงงานในแกลลอรี) ซึ่งก็ไม่ได้สร้างความประหลาดใจมากมายเท่าไหร่นัก 


ด้วยพัฒนาการและระยะเวลาที่ดำเนินไป ประมาณว่ากว่าครึ่งหนึ่งของนักเขียน(writer)ในอเมริกามาจากคนผิวขาวที่เป็นชนชั้นกลางและมีฐานะดี เด็กหนุ่มเหล่านี้เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่าการปฏิเสธถึงคุณค่า และแนวความคิดของพวกเขา ซึ่งมันเกิดจากแรงกดดันและและสิ่งแวดล้อมของพวกเขา นอกจากนี้มันยังบ่งบอกถึงการศึกษาในวัยเด็กและสิ่งแวดล้อมที่เขาได้รับมา 


หลาย ๆ คนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันกับห้องภาพแสดงงานศิลปะ(Art Gallery) Graffiti และ Legal Graffiti มันเป็นอุบายที่จะใช้เรียก Graffiti ว่าเป็นงานศิลปะ เพราะว่า Graffiti เกิดขึ้นโดยอยู่นอกเหนือจากระบบของการสร้างงานศิลปะ ถ้าเมื่อไหร่คุณเอางาน Graffiti ไปไว้ในแกลลอรี มันก็คือการที่คุณหยิบเอาสิ่งที่อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์มารวมกลุ่มด้วย มันเหมือนกับการเอาสัตว์มาขังไว้ในกรง 


Ladypink นักเขียนที่มีชื่อจากนิวยอร์กบอกว่า การนำเอางาน Graffiti ไปไว้ใน art gallery คุณไม่สามารถเรียกมันว่า Graffiti ได้อีกต่อไปแล้ว มันกลายเป็นงานศิลปะและก็ได้รับการยอมรับแบบนั้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีคนบอกว่า มันเป็นเรื่องยากที่จะยอมรับ Graffiti ให้ไปติดตั้งบนพื้นผนังสีขาว มันกลายเป็นสินค้าไปแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว Graffiti ที่แท้จริงคืองานที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยผิดกฎหมาย 


หลายปีผ่านมาความพยายามที่จะเข้าสู่โลกของศิลปะก็ได้หดหายไป เนื่องจากความผิดหวังอย่างรุนแรงและบางครั้งที่ต้องสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองในการทำงาน Graffiti ไป แต่ทว่าบางคนก็ผันตัวเองเข้าสู่โลกของศิลปะอย่างแท้จริงและก็มีชื่อเสียงโด่งดังในที่สุดอย่าง Keith Haring งานของเขาเป็นงานที่มีชื่อเสียงมากและเป็นงานที่ไม่เหมือนงาน Graffiti ส่วนใหญ่ ทั่วโลกชื่นชมเขา เขาสร้างงานของเขาบนรถไฟใต้ดินและบนกระดาษที่ติดอยู่ที่ผนังของสถานี เริ่มจากงานเขียนสีชอล์กซึ่งเป็นผลงานชิ้นสำคัญ เขาก็เหมือนนักเขียนคนอื่น ๆ ที่ยอมเปลี่ยนตัวเองจากงานบนรถไฟใต้ดินขึ้นมาสร้างสรรค์งานแบบศิลปินทั่ว ๆ ไป ซึ่งเขามีความกลัวอยู่สิ่งเดียวคือ อิทธิพลของงานในโลกศิลปะที่จะส่งผลต่องานของเขา 


4. กราฟฟิติและชุมชน (Graffiti and the community) 
มีอยู่หลายเหตุผลที่ทำไมคนถึงยังสร้างงาน Graffiti อยู่ บางส่วนคือการย้อนกลับไปในยุคที่มีการกดขี่พวกเขาและนำไปสู่การก่อเหตุจลาจล เพื่อต่อต้านสังคมที่มีแต่ความฉ้อฉลและอยุติธรรม สำหรับเหตุผลอื่น ๆคือการแสดงออกถึงการสร้างสรรค์ที่บริสุทธิ์ในรูปแบบของศิลปะ 


มีคนเคยบอกว่า ให้ทุ่มเทการสร้างสรรค์งานลงบนกำแพงและมันจะสามารถย้อนกลับไปมองเห็นความหวาดกลัว ความหวัง ความฝัน และความอ่อนแอ แน่นอนว่ามันจะให้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและถ่องแท้ของจิตใจภายในตัวคุณ แต่สำหรับคนอื่น ๆ มันแทบจะเป็นเกมส์ 


"Get up" เป็นชื่อของเกมส์ที่ว่า วัตถุประสงค์ของมันก็คือ เพื่อที่จะดูว่าคุณลงสีมันได้มากแค่ไหนและคุณได้อะไรจากมัน มีคนบอกว่ามันเป็นเหมือนกีฬาที่เป็นของคนเล่นเอง กฎและกติกานั้นธรรมดามาก ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมีกลวิธีในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ กับมันได้มากกว่ากัน มันมีเป็นร้อย ๆ เหตุผลส่วนตัว ในการตัดสินใจที่จะทำ Graffiti แต่ส่วนใหญ่จะแสดงถึงการแก้แค้น สำหรับการทำงานขึ้นมาเพื่อศิลปะหรือเพื่อกีฬานั้นเป็นเรื่องธรรมดาและเป็นเหตุผลทั่ว ๆ ไป 


นักเขียน(writer)มองเห็นว่า พวกเขากำลังทำอะไรอยู่ มันเป็นการทำให้เมืองน่ามองมากยิ่งขึ้น และทำให้สถานที่ต่าง ๆ น่าสนใจและเป็นแหล่งบริการสาธารณะ ขณะที่มองดูบางพื้นที่ต่างๆ ของเมืองหลวงในบ้านเรา มันมีแต่กำแพงที่ว่างเปล่าไม่น่าดึงดูดใจ หรือบ้างก็เป็นกำแพงที่ปกคลุมไปด้วยงานที่น่ารังเกียจและก้าวร้าวของกลุ่มคนที่ทำงาน Graffiti มีคนบอกว่า ผนังที่ว่างเปล่า เป็นสิ่งที่น่าเกลียดและสร้างความเก็บกดให้กับนักเขียน กำแพงที่ว่างเปล่าในเมืองเป็นตัวแทนของสิ่งเลวร้ายต่าง ๆ มากมายยิ่งไปกว่ามีการวาดภาพลงบนนั้นเสียอีก 


ถ้าหากรัฐบาลมีปัญหากับงาน Graffiti ที่ได้ทำขึ้นมา ก็ควรจะหางานจิตรกรรมที่ติดแน่นคงทนมาประดับแทน ในเซลติกมีเหตุผลอย่างเป็นทางการในการวาดภาพลงในชุมชนศิลปะด้วยการระบายสีขาว พวกเขาทำให้สาธารณชนมีความสุข ผู้ว่าการรัฐทั้งหลายต่างมองว่าการทำงานแบบนี้เป็นการทำให้เมืองสะอาดขึ้น 


แน่นอนว่า แทนที่จะสูญเสียเงินไปกันการทำความสะอาดและป้องกันการเกิดงาน Graffiti มันจะดีกว่ามาก ถ้าหากเงินเหล่านั้นถูกนำไปใช้ในช่องทางสำหรับเยาวชน เพื่อให้การศึกษาด้านศิลปะและเรียนรู้มากขึ้นในการทำงานบนกำแพงที่ได้รับการอนุญาต และเช่นเดียวกัน มันควรจะให้การศึกษากับเยาวชนในการสร้างสรรค์ผลงานที่ช่วยให้ชุมชนเจริญก้าวหน้า มันมีอะไรมากมายที่แตกต่างกันไปที่ทำให้คนได้รับจากประสบการณ์ทางด้านศิลปะ แต่ท้ายที่สุดของกระบวนการทั้งหมดก็คือ บทเรียนสำหรับตัวของตัวเอง ก็คือ การทำชุมชนให้สวยงาม 


ถึงแม้ว่า Tag และ Throw up จะไม่ใช่สิ่งที่ดีนัก แต่มันก็ยังคงเป็นที่รองรับเจตนาหรือความตั้งใจ ส่วนใหญ่แล้ว สาธารชนทั่วไปไม่เห็นถึงความจำเป็นที่จะยอมรับในคุณค่าของมัน อันนี้ก็คือการดูถูกดีๆนี่เอง จะมีคนที่ดูถูกงาน Graffiti อยู่เสมอไม่ว่ามันจะมาในรูปแบบใด เพราะมีคนบอกว่า Graffiti คือการทำลายทรัพย์สินส่วนรวม 


ส่วนสำหรับบรรดานักเขียนทั้งหลายบอกว่า… พวกเขาคิดว่าพวกเขาเป็นศิลปินที่มีสิทธิในการพูดอย่างเสรี เพื่อที่จะแสดงความเป็นตัวของตัวเองหรือความเป็นศิลปะออกมา Graffiti จะเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับพวกเขาและเพื่อน ๆของเขา แต่ในความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ ผู้คนส่วนมากซึ่งว่านอนสอนง่ายและถูกสะกดด้วยคุณธรรมจอมปลอม มักไม่อยากที่จะเห็นความแตกแยกซึ่งเกิดขึ้นทุกๆวัน 


********************* 
Graffiti : กราฟฟิติ 
การตะโกนก้องร้องหาเสรีภาพของคนที่ไร้ตัวตน 
 
Computer generated Graffiti from an ACiD Productions Art Pack, ACiD Acquisition Update 67 (ACID-67B.RAR). Artwork by madASScow and RaD Man, titled "No Guts, No Fame", was first entered at the Spring Break 1998 demoparty. 
------------------------- 


คำนำ (Introduction) บทความชิ้นนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมย่อย(Sub culture)ของปรากฏการณ์ของ hip hop Graffiti ของวัยรุ่น(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Graffiti ที่ทำงานบนพื้นที่กำแพงสาธารณะ และสถานีรถไฟใต้ดิน จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นศิลปร่วมสมัยและเข้าไปในวงการธุรกิจ)ที่เกิดขึ้นในนิวยอร์ก ในช่วงปลายยุคทศวรรษที่ 1960 - ต้นทศวรรษที่ 1970 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังจะพูดถึงประวัติศาสตร์ของ Graffiti ที่เกี่ยวเนื่องกับสังคม-วัฒนธรรม-การเมือง รวมทั้งการต่อต้านการครอบงำของวัฒนธรรมกระแสหลัก ซึ่งกล่าวได้ว่า Graffiti เป็นการเติมเต็มเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของตัวมันเองและเป็นการสะท้อนปัญหาสังคมเมืองในรูปแบบของการแสดงออกของคนที่ด้อยกว่า 


Introduction 
ศัพท์คำว่า Graffiti หมายถึง"ภาพวาดที่เกิดจากการขีดเขียนหรือการขูดขีดไปบนผนัง" เป็นศัพท์ที่มาจากภาษากรีก คือคำว่า graphein ที่แปลว่า"การเขียน"และคำว่า "graffiti" โดยตัวของมันเองเป็นคำพหูพจน์ของคำว่า "graffito" ในภาษาอิตาเลียน 


ความเป็นมาในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์ถ้ำได้รู้จักวิธีการขีดเขียนลงบนผนังถ้ำแล้ว มันเป็นการสะท้อนถึงความต้องการของมนุษย์ในการสื่อสารและพิธีกรรม สำหรับ Graffiti ก็เป็นตัวแทนในการแสดงออกเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ในการติดต่อสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง และ Graffiti ได้กลายเป็นพลังที่มีความโดดเด่นในชุมชนเมืองในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 "นักเขียน"(เป็นคำเรียกพวกที่ทำงาน Graffiti ว่า writer)ทั้งหลาย จะไม่เรียกงานของพวกเขาว่า Graffiti แต่จะเรียกว่า"งานเขียน". Graffiti เป็นศัพท์เฉพาะทางสังคมที่มีการพัฒนาขึ้นมาตามวัฒนธรรมในยุคทศวรรษที่ 70 


ช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 - ถึงต้นทศวรรษที่ 1970 ในมหานครนิวยอร์ก มีปรากฏการณ์อันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นมาและเป็นที่รู้จักกันในชื่อของการเคลื่อนไหวของ hip hop Graffiti ซึ่งมีความซับซ้อนและมีวิธีการชั้นสูงในการคิดค้นการตีตราในทัศนะของชีวิตเมือง hip hop เป็นคำที่ประกอบด้วย rap, break-dance, และ graffiti เกิดขึ้นมาโดยการแสดงออกของชนกลุ่มน้อยที่เป็นคนยากจน ดังนั้น hip hop จึงเป็นอีกวัฒนธรรมย่อยที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน 


ถึงแม้ว่า Graffiti จะเป็นองค์ประกอบที่ใช้เป็นตัวเชื่อมภายในทั้งหมดของ hip hop แต่มันยังสามารถศึกษาในรูปแบบที่เป็นรูปธรรมได้ด้วยเช่นเดียวกับ rap. Graffiti เกิดขึ้นด้วยพลังของตัวมันเอง ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากมหานครนิวยอร์กและได้ส่งอิทธิพลต่อเมืองต่างๆในสหรัฐอเมริกา Graffiti สามารถถูกมองได้ในรูปแบบของศิลปะของการต่อต้านอำนาจทางกฎหมาย และในเวลาเดียวกัน ก็มีความหมายของการแสดงความรู้สึกและการเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมย่อยของตัวมันเอง 


จากการเกิดขึ้นมาของ Graffiti ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 - ต้นทศวรรษที่ 1970 มันได้ก่อกำเนิดขึ้นมาอีกครั้งในช่วงต้นปี 1980 ในตอนที่เราเห็นในภาพยนตร์เรื่อง Beat Streets, Wildstyle, Style Wars และนอกจากนี้ยังได้สร้างความน่าสนใจในรูปแบบของงานศิลปะประเภทหนึ่งในหนังสือเรื่อง Subway Art และ Spraycan Art ซึ่งในลอนดอนถือว่าเป็นที่แรกที่ได้มีการรับเอาและดัดแปลงรูปแบบของนิวยอร์กมาผสมผสานกับรูปแบบของตัวเอง 



Author: Swatch


บทที่ 1 การกำเนิดของ Graffiti ในนิวยอร์ก 
ในนิวยอร์ก Graffiti เกิดขึ้นในช่วงปลายของยุค 1960 เมื่อตอนที่ Julio ได้เริ่มเขียนนามแฝงของเขา (Tag) นั่นคือ Julio 204 และ Demitrios (หนุ่มชาวกรีก)ใช้ชื่อว่า Taki183 ซึ่งพบเห็นอยู่ทั่วไปในนครนิวยอร์ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรถไฟใต้ดิน ในปีที่ Taki183 ได้เกิดขึ้น เป็นช่วงเวลาที่น่าอัศจรรย์ใจที่หนุ่มสาวนับร้อย ต่างพยายามมองหาการแสดงความรู้สึกของพวกเขาผ่านระบบของรถไฟใต้ดิน ซึ่งระบบนี้ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในภายหลัง และเกิดคำว่า hip hop Graffiti ขึ้นมา 



taki 183 - tag in action (foto del libro Style Writing From The Underground)


ประวัติศาสตร์ของ Graffiti ได้เกิดขึ้นในช่วงนี้และได้แพร่หลายไปในสื่อรูปแบบต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของมันได้กลายเป็นวัฒนธรรมซึ่งได้รับความนิยมขึ้นมาใน The New York City Subway (ระบบของรถไฟใต้ดิน) และได้รับการมองว่าเป็นเครือข่ายของระบบ Graffiti สำหรับ Graffiti มันกลายเป็นสัญลักษณ์ของนักเขียน(writer)ที่ใช้แสดงผลงานของเขาสู่สายตาสาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเขียนคนอื่น เพราะด้วยวิธีการดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขา 


บรรดานักเขียนทั้งหลายจะเลือกเส้นทางรถไฟที่เขาพอใจ มันขึ้นอยู่กับพื้นผิวของรถไฟ และเส้นทางเดินรถ นักเขียนที่ยิ่งใหญ่ของเมืองมักจะมองหา Twos'n five ซึ่งเป็นหมายเลขของเส้นทางเดินรถไฟที่เขาจะใช้สร้างสรรค์งาน ซึ่งนั่นก็คือผืนผ้าใบหรือพื้นที่การทำงานของพวกเขา 


Graffiti ยังสามารถทำบนกำแพง หรือตึกก็ได้ แต่ว่ารถไฟใต้ดินเป็นสิ่งที่ได้เปรียบมากกว่า ทั้งนี้เพราะมันพางานของพวกเขาไปได้ไกลๆ ทำให้ผู้คนทั้งหลายสามารถมองเห็นได้มากกว่า และมันเป็นการบ่งบอกถึงศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ของผู้ชมและการเชื่อมต่อทางจิตใจของเด็ก ๆ ที่มีต่อเมืองต่างๆ 


รูปแบบ (Form) 
มีรูปแบบของ Graffiti อยู่ 7 รูปแบบ ซึ่งรูปแบบต่างๆขึ้นอยู่กับความซับซ้อน สถานที่กำเนิดของงาน และขนาดของงาน แต่ละรูปแบบสามารถอธิบายได้ดังนี้ 



Tags


1. Tags เป็นชื่อที่หมายถึงชื่อเล่นของนักเขียน, นามแฝง ซึ่งเป็นรูปแบบที่ธรรมดาที่สุดของ Graffiti ชื่อของนักเขียนจะมีอยู่มากเท่าที่ความต้องการในการจดจำชื่อของเขาจะเป็นไปได้ Tag เปรียบเสมือนลายนิ้วมือ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ในการแยกแยะและสิ่งที่ชี้ชัดถึงตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง 



Throw-ups


2. Throw-ups เป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของ Tag โดยปกติจะเป็นการพ่นสเปรย์อย่างรวดเร็วโดยพ่นสเปรย์กระป๋องลงบนตัวถังรถไฟ นิยมใช้รูปแบบของตัวอักษรที่เรียกว่า Bubble Letter ในการเขียนชื่อออกมาด้วยตัวอักษรเพียง 2-3 ตัว และมักจะใช้สีเพียง 2 สี สีหนึ่งสำหรับเส้น out line และอีกสีหนึ่งสำหรับการระบายลงไปในตัวอักษร มันเป็นวิธีการที่รวดเร็วที่สุดในการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ 



piece (from "masterpiece")


3. Pieces เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกผลงานชิ้นเอก มันใช้สำหรับการพิจารณาผลงานชิ้นเด่นที่สุดในการพัฒนางานในรูปแบบของ Hip Hop Graffiti. Piece จะมีการใช้ตัวอักษรมากกว่า Throw-up และมีการประดิษฐ์ประดอยตัวอักษรมากกว่า การสร้างความงดงามนั้นทำขึ้นโดยเทคโนโลยีที่เรียกว่า Fat Cap ซึ่งมันสามารถครอบคลุมพื้นที่การทำงานได้อย่างรวดเร็ว ขนาดใหญ่ และประณีต เทคโนโลยีของนวัตกรรมที่ว่านี้ ได้ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบ Graffiti ในโลกศิลปะอยู่ไม่น้อย เมื่องานขึ้นไปอยู่บนตัวถังรถไฟ piece ได้ขยายขนาดกว้างกว่าตัวถังรถและกินพื้นที่ไปจนถึงหน้าต่างของรถไฟและก็ได้ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมาอีกจำนวนมาก 


4. Top to Bottoms รูปแบบนี้หมายถึง piece ที่คลอบคุลมพื้นที่ของการทำงานจากบนสุดถึงล่างสุดของตัวถังรถไฟ 


5. End to Ends เป็นชื่อที่เกิดจากการประยุกต์งาน มันคือรูปแบบของการสร้างสรรค์งานที่จากตู้โดยสารหนึ่งไปยังอีกตู้โดยสารหนึ่ง แต่ไม่ได้เป็นการสร้างงานขึ้นมาตลอดทั้งขบวนรถ (creations that cover one end of a subway car to another, but not the entire car) 


6. Whole Cars มันเป็นการทำงานลงบนตัวโบกี้รถไฟตลอดทั้งโบกี้ จากหัวถึงท้าย จากด้านบนสุดถึงด้านล่างสุด มันเป็นงานที่สร้างความตื่นตาตื่นใจมากเพราะว่ามันเป็นงาน 3 มิติ ดังนั้นงานประเภทนี้จึงเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มหรือไม่ก็ทีมงาน(Crew) ส่วนการออกแบบงานนั้น ได้มีการวางแผนมาก่อนแล้วโดยการวาดลงสมุดสเก็ตภาพ ซึ่งขั้นตอนนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ในกลางปี 1970 งานรูปแบบนี้ส่วนใหญ่จะได้รับการยอมรับให้เป็นผลงานชิ้นเอกบนตัวถังโบกี้รถไฟ ภาพส่วนใหญ่เป็นภาพล้อเลียน ข้อความ และภาพเรื่องราวต่าง ๆ ฉากสำคัญ ๆ และตัวการ์ตูนที่มีชื่อเสียงที่เกิดมาจากวัฒนธรรมอเมริกัน 


7. Whole Trains การสร้างงานให้เกิดขึ้นทั้งขบวนรถไฟ(ต่างๆจาก Whole Car ซึ่งเป็นการสร้างงานเฉพาะแต่ละโบกี้)ที่มีชื่อว่า "the freedom train" ถูกสร้างขึ้นในปี 1976 ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด แต่ทว่างาน the freedom train มีอายุงานที่สั้นมาก เพราะเหตุว่า มันได้ถูกระบายสีทับไปหลังจากที่ได้สร้างงานเสร็จเพียงวันเดียว 





train graffiti


สไตล์ (Style) 
ส่วนใหญ่แล้วมักจะเริ่มจากการใช้ Tag ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะใช้ในการพัฒนารูปแบบของตนเอง ขนาดที่แตกต่างออกไป และสีที่จะแสดงถึงความโดดเด่นออกมาจากงานของคนอื่น 


ในกลางปี 1970 จุดสูงสุดของรูปแบบตัวหนังสือกลายเป็นจุดสนใจที่สำคัญของนักเขียน นักเขียนจำนวนมากในแมนฮัตตันได้มีการปรับเปลี่ยนในรูปแบบของตัวอักษรให้ ยาว ผอม และเบียดติดกันให้อยู่ในพื้นที่ขนาดเล็ก ส่วนในนิวยอร์กก็ได้มีการพัฒนารูปแบบของตนเองเช่นกัน ซึ่งสามารถทำให้อยากรู้ว่างานเขียนชิ้นนี้มาจากนักเขียนคนใด ส่วนนักเขียนคนอื่น ๆ ก็ได้คิดสร้างสรรค์งานในรูปแบบหรือสไตล์ของตนเอง มีการใช้ชื่อที่ไพเราะมากขึ้น 



Seen adding 'doodads' in Style Wars (1983)


งานที่ชื่อ Style wars มีชื่อเสียงขึ้นในหมู่นักเขียน ในตอนที่ Graffiti เหมือนอยู่ในยุคที่กำลังมีการแข่งขันกันทางด้านความคิดสร้างสรรค์ นักเขียนต่างวิพากษ์วิจารณ์งานของกันและกัน ทั้งเรื่องของรูปแบบดั้งเดิมและความเฟื่องฟูของตัวอักษร การระมัดระวังเรื่องของสเปรย์ เส้นตัดขอบที่คมชัด และการเพิ่มเติมรายละเอียดในการสร้างสรรค์งานประเภท Burner (หมายถึงผลงานชิ้นเอกที่ยอดเยี่ยมที่สุด) 



burner- typically a large, elaborate piece, more elaborate than a normal piece. It refers to the piece "burning" out of the wall or trainside.


Style และเทคนิกได้ถูกนำเอามาใช้ร่วมกับ wildstyle (คือตัวอักษรที่แทบจะอ่านไม่ออก, ตัวอักษรที่เกี่ยวพันกันไปมาและมีทิศทางที่ไม่สามารถกำหนดได้), ตัวอักษร 3 มิติ , Fading (คือการผสมสี), ตัวอักษรที่แตกกระจาย , ตัวอักษรแหลม ๆ รวมไปถึงตัวอักษรที่มีรูปแบบเป็นตัวอักษรในคอมพิวเตอร์ที่เหมือนกับตัวอักษร 3 มิติที่มีเงา ซึ่งเป็นการดัดแปลงตัวอักษรที่มาจากรูปแบบเก่าๆ ตัวอักษรของ Wildstyle เป็นตัวอักษรที่อ่านได้ค่อนข้างยาก ซึ่งอยู่นอกเหนือบรรดาวัฒนธรรมย่อยในการสร้างสรรค์งาน 



Wild style


ข้อขัดแย้งมักเกิดขึ้นเสมอระหว่างนักเขียนด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการกล่าวหาและมีเรื่องกระทบกระทั่งกันเล็กๆน้อยๆ การที่นักเขียนได้ทำการเข้าไปสำรวจตรวจสอบผลงานของนักเขียนอีกคนหนึ่งนั้น มันเกิดขึ้นโดยหลายๆสาเหตุ ตั้งแต่เป็นการขอร้องไปจนถึงเป็นการท้าทาย เพราะว่าการมีพื้นที่ๆจำกัด มันทำให้มีการจ้องที่จะดูถูกผลงานของคนอื่นอยู่ตลอดเวลา และนักเขียนหน้าใหม่ๆ กำลังค้นหาการปรับเปลี่ยนจากงานของนักเขียนที่ได้รับการยอมรับ 


ชื่อเสียง (Fame) 
นักเขียนที่มีชื่อเสียงจะถูกพิจารณาเยี่ยงราชา นักเขียนที่มีชื่อเสียงแล้วจะถูกตีตราว่าเป็นราชาของรูปแบบนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับชื่อเสียงนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะมีนักเขียนที่ต้องการไปถึงจุดนั้นและพยายามขวนขวายหารูปแบบของตัวเอง เพื่อว่าจะได้เป็นราชาในรูปแบบใหม่ๆ ทำให้ราชามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่ารูปแบบ สี ลักษณะ จะเป็นสิ่งสำคัญ แต่การกระตุ้นก็เป็นปัจจัยแรกที่จะให้เกิดการทำงานต่อไป 


บทที่ 2 สภาพสังคมและวัฒนธรรมของ Graffiti 
Graffiti เป็นที่สนใจของนักสังคมวิทยา,นักมานุษยวิทยา,นักจิตวิทยา,นักอาชญากรรมวิทยา ศิลปินและคนอื่น ๆ พวกเขาค้นหาว่าทำไมคนเหล่านี้ถึงได้พยายามสร้างงาน Graffiti ขึ้นมา อะไรคือแรงจูงใจของคนพวกนี้ และแหล่งเงินทุนไหนที่ให้การสนับสนุนซึ่งทำให้พวกเขาสามารถสร้างงานต่อไปได้ มันคือแรงขับทางวัฒนธรรมย่อย ซึ่งก็เหมือนกับ hip hop 


บรรดานักเขียนและทีมงาน (Writers and Crews) 
นักเขียนส่วนใหญ่จะเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีฐานะยากจน ส่วนใหญ่จะเป็นพวกคนผิวดำ ส่วนคนผิวขาวพอมีอยู่บ้าง ชนชั้นกรรมาชีพผิวขาวที่มีชีวิตอยู่กับการทำงาน สนใจงานประเภทนี้และพวกเขาจะถูกแยกแยะด้วย hip hop เป็นเพราะพวกเขาไม่ได้รับการเชื่อเชิญให้อยู่ในสังคมของชนชั้นกลางของพวกผิวขาวตามปกติ(ที่เรียกกันว่า WASP - white anglo saxon protestants) 


เมื่อ Graffiti ได้แพร่หลาย มันก็ได้เป็นที่สนใจของวัยรุ่นจากบุคคลที่มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวยด้วย ซึ่งได้รับแรงจูงใจด้วยความรุนแรงและความเร้าใจของ Graffiti จากนั้นก็ได้ครอบคลุมไปยังคนผิวขาว ซึ่งถูกแยกแยะด้วยความป่าเถื่อน และทัศนคติที่ผิดกฎหมายต่างๆ 


นักเขียนส่วนใหญ่เริ่มตั้งแต่ตอนยังเป็นเด็กตัวน้อย ๆ ไปจนถึงอายุ 10 - 11 ปี และบางส่วนก็ได้หยุดเขียนงานของพวกเขาตอนที่อายุ 16 ปี และเริ่มที่จะทำงาน ต่อตอนที่อายุได้ 20 กว่า ๆ ซึ่งตอนนั้นพวกเขาได้ก้าวเข้าสู่โลกของศิลปะแล้ว และนับแต่นั่นพวกเขาก็จะสร้างสรรค์งาน Graffiti ต่อไปเรื่อย ๆ 


แต่อะไรคือหน้าที่ทางสังคมของ Graffiti ที่ได้แสดงออกมา ? มีผู้คนและนักวิชาการหลายคนพยายามแสดงทัศนะของตนออกมา ซึ่งจากการประมวลความคิดและเหตุผลทั้งหลายพอสรุปได้ว่า หน้าที่ทางสังคมนี้จะทำให้สำเร็จได้เมื่อ : 


1. เมื่อมันมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมโดยส่วนรวมของมนุษย์ 
2. Graffiti ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อการมองเห็น หรือไม่ก็ใช้ในเหตุการณ์พื้นฐานทั่วๆไป 
3. Graffiti ได้แสดงออกและอธิบายถึงทัศนคติของคนที่ถูกกดขี่โดยรวมๆเกี่ยวกับการดำรงชีวิต ที่ขัดแย้งกับความเป็นปัจเจกชนและการมีประสบการณ์ส่วนตัว 


นักเขียนมักจะมีการร่วมมือสร้างงานกันเป็นทีมอยู่บ่อยครั้ง ทีมงานจะสร้างงาน Graffiti จากการแสดงออกของความเป็นตัวของตัวเอง เพื่อนำไปสู่การคิดสร้างสรรค์ที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน แต่พ่อแม่ของบรรดานักเขียนเหล่านี้ต่างก็ไม่ยอมรับในงานอดิเรกของลูกๆ และน้อยคนนักที่จะเข้าใจ 


"มุมของนักเขียน"ได้เกิดขึ้นในนิวยอร์ก งานชิ้นแรกได้เกิดขึ้นมาในปี 1972 ที่ ถนนอูดูบอน หมายเลข 188 ในแมนฮัตตัน หลังจากนั้นกลุ่มของนักเขียนก็ได้เกิดขึ้นทั่วเมือง ทั้ง Vanguards , Last Survivors ,The Ex-Vandals ก็ได้เกิดขึ้น แต่ก็สลายตัวไปในที่สุด เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มแก๊งต่างๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตำนานในใจของนักเขียนและการส่งอิทธิพลต่องานรุ่นหลัง ๆ ก็ยังคงมีอยู่เสมอมา 


ในบรรดานักเขียนและกลุ่มคนทำงานเหล่านี้มีสิ่งที่เหมือนกันอยู่บางอย่างก็คือ : ทั้งคู่ต่างก็ต้องการการยอมรับ ต้องการความมีเกียรติ, ใช้นามแฝง, เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย, มองเห็นตนเองที่ประสบความสำเร็จในด้านมืด, อายุยังน้อย และมีความยากจน 



Street art


ในหนังสือ Street Gangs อธิบายถึงแรงกระตุ้นที่อยู่เบื้องหลังแก๊งข้างถนนและพฤติกรรมของพวกเขาว่า Graffiti มันเป็นวิธีการเดียวที่จะทำให้รู้สึกโดดเด่นได้เหมือนเป็น "ใครบางคน" สามารถแสดงความเป็นเจ้าของได้, รู้สึกถึงการได้รับการยอมรับและถูกให้ความสำคัญขึ้นมาสำหรับใครหลายๆคน ซึ่งเติบโตมาจากผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ด้อยกว่า กิจกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นวิธีเดียวที่จะมาเติมเต็มความรู้สึกในความกระหายของพวกเขา 


กลุ่มของ Graffiti เป็นทางออกของบรรดานักเขียน ถึงแม้ว่าบางครั้งจะมีการก่อเหตุทะเลาะวิวาทกันขึ้นมาบ้าง แต่มันก็ไม่ใช่เจตนาที่ต้องการจะทำให้เกิดเรื่องราวนั้นขึ้นมา และก็เช่นกัน ถึงแม้ว่าบางส่วนของงานจะมีผลกระทบกับธรรมชาติ ก็ถือว่ามันเป็นการแสดงออกทางด้านจิตวิทยาผ่านทางงานศิลปะมากกว่าการแสดงออกทางด้านร่างกาย 


กลุ่มนักเขียนได้เริ่มรวมตัวกันขึ้นหลังจากการสิ้นสุดของยุค Ex- Vandals และหลังจากนั้นกลุ่มที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ The Fabulous Five และก็เป็นที่ยอมรับนับถือของกลุ่มคนเหล่านั้นด้วยเช่นกัน